นิทานเวตาล (สันสกฤต: वेतालपञ्चविंशति เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่นิทานย่อยต่างๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม 25 เรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ "พันหนึ่งราตรี" ซึ่งเป็นนิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง
พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้
ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึง หวังที่จะปลง ชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้
นิทาน
นิทานย่อยซึ่งแทรกอยู่ในนิทานเวตาลทั้ง 25 เรื่องโดยสรุปมีดังนี้
- เรื่องที่ 1 เรื่องของเจ้าชายวัชรมกุฏ กับพระสหายชื่อ พุทธิศรีระ
- เรื่องที่ 2 เรื่องของนางมันทารวดี กับ พราหมณ์หนุ่ม 3 คน
- เรื่องที่ 3 เรื่องของนกแก้วชื่อ วิทัคธจูฑามณี ของพระเจ้าวิกรมเกศริน กับนกขุนทองชื่อ โสมิกา ของเจ้าหญิงจันทรประภา
- เรื่องที่ 4 เรื่องของพระเจ้าศูทรกะ กับพราหมณ์ผู้ซื่อสัตย์ชื่อ วีรวร
- เรื่องที่ 5 เรื่องของนางโสมประภา กับการเลือกคู่ครอง
- เรื่องที่ 6 เรื่องของวันฉลองพระแม่เคารี
- เรื่องที่ 7 เรื่องของพระเจ้าจัณฑสิงห์ กับสัตตวศีล ผู้ซื่อสัตย์
- เรื่องที่ 8 เรื่องของบุตรทั้ง 3 ของพราหมณ์วิษณุสวามิน
- เรื่องที่ 9 เรื่องของการเลือกคู่ของเจ้าหญิงอนงครตี
- เรื่องที่ 10 เรื่องของนางมัทนเสนา ผู้ซื่อสัตย์
- เรื่องที่ 11 เรื่องของชายาทั้ง 3 ของพระเจ้าธรรมธวัช
- เรื่องที่ 12 เรื่องของพระเจ้ายศเกตุ กับทีรฆทรรศิน ผู้ภักดี
- เรื่องที่ 13 เรื่องของพราหมณ์ชื่อ หริสวามิน ผู้อาภัพ
- เรื่องที่ 14 เรื่องของนางรัตนาวดี บุตรีเศรษฐี ผู้หลงรักโจร
- เรื่องที่ 15 เรื่องของความรักของเจ้าหญิง ศศิประภา
- เรื่องที่ 16 เรื่องของเจ้าชาย ชีมูตวาหน กับนาคชื่อ ศังขจูฑะ
- เรื่องที่ 17 เรื่องของพระเจ้ายโศธน กับ นางอุนมาทินี บุตรีเศรษฐี
- เรื่องที่ 18 เรื่องของพราหมณ์จันทรสวามิน กับฤๅษีปาศุบต
- เรื่องที่ 19 เรื่องของภรรยาเศรษฐี กับธิดาชื่อ ธนวดี
- เรื่องที่ 20 เรื่องของพระเจ้าจันทราวโลก กับรากษส
- เรื่องที่ 21 เรื่องของนางอนงคมัญชรี
- เรื่องที่ 22 เรื่องของบุตรพราหมณ์ทั้ง 4 ผู้ขมังเวทย์
- เรื่องที่ 23 เรื่องของฤๅษีเฒ่า วามศิวะ ผู้อยากเป็นหนุ่ม
- เรื่องที่ 24 เรื่องของนางจันทรวดี กับธิดาชื่อ ลาวัณยวดี กับเรื่องขนาดเท้าของนาง
- เรื่องที่ 25 เรื่องของพระเจ้าติรวิกรมเสน กับเวตาล
ฉบับพระนิพนธ์ใน กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
- เรื่องที่ 1 พระวัชรมงกุฎ กับ พุทธศริระ (ลิลิตเพชรมงกุฎ)
- เรื่องที่ 2 นกแก้วจุฑามน กับ นกขุนทองโสมิกา
- 2.1 นางรัตนาวดี กับ ชายผู้มีหลังเหมือนอูฐ
- 2.2 นางชัยสิริ กับ จมูกที่แหว่งของนาง
- เรื่องที่ 3 พระเจ้าศูทรกะ กับ ขุนนางวีรพล
- เรื่องที่ 4 นางมัทนเสนากับการเลือกคู่
- เรื่องที่ 5 นางโศภนี ผู้หลงรักโจร
- เรื่องที่ 6 พราหมณ์เกศวะ กับ บุตรเขย 3 คน
- เรื่องที่ 7 ความรักมนัสวี ผู้โง่เขลา
- เรื่องที่ 8 พระยศเกตุ กับ ทีรฆทรรศิน และนางวิทยาธรสาว
- เรื่องที่ 9 การชุบชีวิตด้วยความผิดพลาดของนางมุกดาวลี
- เรื่องที่ 10 ปริศนายากของเวตาล
จะเห็นว่าบางเรื่องจะมีความคล้ายคลึงกับ 25 เรื่องข้างต้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเรื่องของ พระพฤตราช พระอนุชาของพระวิกรมาทิตย์อีกด้วย
อ้างอิง https://th.wikipedia.org
อ้างอิง https://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น